Sunday, October 12, 2008

รู้จักสายพันธุ์นกนางแอ่น

คนทั่วไปที่รู้จักนกนางแอ่นอยู่เพียงชนิดเดียว คือนกนางแอ่นที่พบเห็นบินโฉบร่อนไปมาอยู่บนท้องฟ้า ทั้งยังคิดไปว่า นกนางแอ่นที่เห็น อยู่นั้น เป็นชนิดเดียวกับที่มีคนนำรังมาบริโภคกัน และมีคนบอกว่า นกนางแอ่นเหล่านี้ เวลากลางคืนจะพากันไปหลับนอนอยู่แถวถนนสีลม ตอนนั้นยังไม่ ทราบหรอกว่า นกนางแอ่นที่บินอยู่บนฟ้านั้นมีหลายชนิด ทั้งยังเป็นนกที่อยู่กันคนละวงศ์กันเสียด้วย ที่สำคัญคือ ไม่มีชนิดใดเลย ที่เรานำรังมาปรุงอาหาร ก็จะไม่ให้เข้าใจเช่นนั้น ได้อย่างไรกัน ในเมื่อเวลาที่เรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า ก็จะเห็นแต่นกปีกแหลม ตัวเล็กๆสีคล้ำๆ บินฉวัดเฉวียนไปมาอยู่ตลอดเวลา ใครจะไปรู้ได้ว่า ตัวไหนเป็นนกแอ่น ตาล ตัวไหนคือนกนางแอ่นบ้าน สูงออกอย่างนั้น ดูด้วยตาเปล่าทีไร เห็นแต่นกตัวเล็กๆเหมือนกัน ไปหมด
จนกระทั่งหันมาดูและสนใจเรื่องนกนั่นแหละ ถึงเพิ่งได้รู้ว่า นกนางแอ่นที่นิยมนำรังมากินนั้น ที่แท้เรียกว่า นกแอ่นกินรัง ( Edible - nest Swiflet ) ซึ่งเป็นนกที่อยู่ในวงศ์ นกแอ่น (Apodidadae ) และนกชนิดนี้ก็ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ แต่จะพบหากินอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล และ จะทำรังด้วย น้ำลายอยู่ตามถ้ำ บนเกาะทางภาคใต้ บริเวณใกล้สุดที่จะพบนกแอ่นกินรังได้คือ ที่ วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร ซึ่งนกชนิดนี้เข้ามาทำรังอยู่ในโบสถ์ สำหรับนกที่ บินร่อนอยู่เหนือ ท้องฟ้าในกรุงเทพฯ ที่ผมเคยเข้าใจผิดว่าเป็นนกชนิดเดียวกัน นั้น ความจริง มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด เป็นนกในวงศ์นกแอ่นอยู่ ชนิดหนึ่ง คือ นกแอ่นตาล ( Asian Palm - Swift ) ชนิดนี้จะพบได้ตลอดทั้งปี เวลาบินอยู่บนท้องฟ้า จะมองเห็นเป็นนกตัวเล็กๆ ลำตัวเรียว และ มีปีกงอโค้งเหมือนสมอเรือ นกแอ่นตาลนี่จะทำรัง ติดอยู่ตาม ใบตาล
ส่วนอีกชนิดหนึ่ง กลับเป็นนกที่อยู่คนละวงศ์กัน โดยเป็นนกในวงศ์นกนางแอ่น ( Hirundinidae ) อย่างที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากนั่นเอง และ ชนิดที่พบเห็นอยู่เหนือท้องฟ้ากรุงเทพฯ นั้น คือ นกนางแอ่นบ้าน ( Barn Swallow ) เมื่อรู้ว่าเป็นคนละชนิดกันแล้ว จึงทำให้สังเกตเห็นความแตกต่าง ของ นกนางแอ่นบ้าน ที่เวลาบินจะมองเห็นขนาดใหญ่ และ รูปร่างป้อมกว่า ด้านล่างลำตัวเป็นสีขาว ปีกแหลม และ หางเว้าลึกเข้ามามากกว่า นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ แล้ว เราจะพบนกนางแอ่นบ้านได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาว ที่นกบินย้ายถิ่นหลบหนีความหนาวเย็น จาก ตอนเหนือเข้ามาในประเทศไทย และ นกนางแอ่นชนิด นี้ นี่เอง ที่มาเกาะพักอยู่ตามสายไฟ และ บนต้นไม้ที่ถนนสีลม ในตอนกลางคืน
นอกจากนกนางแอ่นบ้านแล้ว นกนางแอ่นอีกชนิดหนึ่งที่นักดูนกพบเห็นกันได้บ่อยๆ ก็คือ นกนางแอ่นตะโพกแดง ( Red - rumped Swallow ) ชนิดนี้ตะโพกสีแดง และ มีลายขีดประที่บริเวณท้องสีขาว นกชนิดนี้พบเห็นได้ทั่วประเทศ ตามป่า เชิงผา และ พื้นที่โล่งๆ จากที่ราบไปจนถึงยอดเขา และ พบเห็นได้ตลอดปี
ปัจจุบัน นกนางแอ่นตะโพกแดง ( Red - rumped Swallow ) ได้ถูกแยกออกเป็นชนิดใหม่ อีก ชนิดหนึ่ง และ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ซึ่ง ชนิด ที่พบในไทย คือชนิดย่อย H . d . japonnica มีขอบเขตการ กระจายพันธุ์ อยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย ในช่วงฤดูหนาว จึงอพยพย้ายถิ่นลงมาทางใต้ เป็นนกประจำถิ่น สร้างรังวางไข่ในอินเดีย ตอนเหนือของ พม่า ไทย และ อินโดจีน จะพบอยู่เฉพาะทางตอนเหนือสุด ของ ประเทศไทย นอกจากนี้ นกนางแอ่น ตะโพกแดง ยังเป็นนกที่กระจายพันธุ์ อยู่ในทวีปยุโรป และบินอพยพ ย้ายถิ่น ลงไปตอนกลาง ของทวีปอาฟริกา ด้วย ชื่อสกุล Hirundo ของนกนางแอ่น ตะโพกแดง และ นกนางแอ่นลาย มาจากคำในภาษาละติน หมายถึง นกนางแอ่น
รูปร่างลักษณะ นกนางแอ่นลาย เป็นนกในวงศ์นกนางแอ่น ( Hirundinidae ) ที่มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ มีขนาดยาวประมาณ 19 ซม. ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับนกนางแอ่นตะโพกแดง ( Red - rumped Swallow ) ทำให้แต่เดิม จัดรวมเข้าเป็นชนิดย่อย หนึ่งของ นกนางแอ่นตะโพกแดง แต่ นกนางแอ่นลาย จะมีขีดลายตามตัว ชัดเจนมากกว่า ต่อมาจึงถูกแยกออก เป็นอีกชนิด หนึ่ง ต่างหาก โดยนกชนิดนี้ด้านบนของลำตัว จะมีสีน้ำเงินอมเขียว และ มีสีเทาเข้มตรงโคนของเส้นขน ตะโพกสี น้ำตาลแดง และมีขีดประสีดำเล็กๆ อยู่ทั่วไป ขนคลุมบนโคนหางเส้นสั้นสีน้ำตาลแดง ส่วนเส้นที่ยาวกว่า สีน้ำเงิน เหลือบ เข้ม วงรอบตรงท้ายทอย มีสีน้ำตาลแดงอ่อนๆ ยาวจากเหนือตา วนรอบ จรดอีกด้านหนึ่ง หัวตา แก้ม และ ข้างหูมีสีขาว พร้อมขีดประสีเข้มอยู่ทั่ว ด้านล่างลำตัวสีขาว และ มีลายขีดสีน้ำตาลอมดำกระจายอยู่ทั่วไป รวมทั้งบริเวณคาง และ คอด้วย ขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลอมดำ แซมด้วย สีเขียวเหลือบ เข้ม ขนใต้ปีกตรงรักแร้ และ ขนคลุมปีก ด้านล่าง สีขาวแซมด้วยสีเนื้อ ขนคลุมปีกด้านบน และ ขนปีก สีน้ำตาลอมดำ ไล่ลงไปจนถึง น้ำเงินเหลือบ หางสี น้ำตาลอมดำ และ เว้าลึกเข้ามา ตาสีน้ำตาล ปากสีดำอมน้ำตาล ขาและเท้าสีน้ำตาลเข้ม ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ส่วนนกที่ยังโต ไม่เต็มวัย ออกสี น้ำตาล ทึมๆ กว่า ตะโพก ข้างหัว และวงรอบคอ สีจางกว่า ด้วย
ส่วนนกนางแอ่นตะโพกแดงนั้น จะมีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ 16 - 17 ซม. ลายขีดที่ปรากฏ อยู่ จะมีขนาดเล็ก และ จางกว่าด้วย นอกจากนี้ วงรอบตรงท้ายทอย ยังมีสีน้ำตาลแดงเข้มกว่านกนางแอ่นลาย และ ลากข้างคอวนรอบไปจรดอีกข้างหนึ่ง
นิสัยประจำพันธุ์ นกนางแอ่นลาย จะใช้เวลาส่วนใหญ่ บินโฉบร่อนหากินอยู่บนท้องฟ้า โดยเป็นนก ที่บินได้เก่งมาก แต่บินได้ช้ากว่า นกนางแอ่นบ้าน นกมักบินหากินตามลำพัง หรือ เป็นกลุ่มเล็กๆ ทั้งยังชอบหาอาหารร่วมกับนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ด้วย แต่จะไม่เข้ามา รวมกลุ่มอยู่ในเมือง นกนางแอ่นลายจะบินหากินอยู่เหนือ ทุ่งโล่ง ตามป่า หรือ หุบเขา มีทั้งที่บินเรี่ยพื้นดิน เหนือยอดไม้ และ ร่อนตามผา เที่ยวไล่จับแมลงขนาดเล็ก ที่บินอยู่ กลางอากาศกินเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ยุง จักจั่น เต่าทอง ตั๊กแตน ผึ้ง โดยบินโฉบไล่งับด้วยปากอย่างคล่องแคล่ว และ รวดเร็ว ด้วยปากกว้าง และ มีกล้ามเนื้อขากรรไกรที่แข็งแรงมาก สามารถจับแมลงกลางอากาศได้ทันที บางครั้ง นกนางแอ่นลาย ยังลงมากินปลวกตามพื้น หรือ โฉบแมลงตามต้นไม้ด้วย และ มักพบนกได้เสมอตามบริเวณที่มีไฟไหม้ทุ่งหญ้า ในเวลาที่พักเหนื่อย นกนางแอ่นลาย จะลงมาเกาะพักอยู่ตามกิ่งไม้เล็กๆ พงอ้อพงแขม หรือเกาะเรียง อยู่ตามสายไฟ เป็นแถว เสียงร้องของนกนางแอ่นลาย จะดัง "ควีซ" นุ่มใสๆ เหมือนเสียงผิวปาก แต่ถ้าตกใจจะบิน ร้องเสียงดัง " ชิ - ชิ - ชิ " รัวถี่ๆ
แหล่งอาศัยหากิน นกนางแอ่นลาย จะอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่โล่ง โดยเฉพาะตามริมลำน้ำ หุบเขา เชิงผา ส่วนใหญ่มักพบบ่อยๆ ตามป่า โปร่ง ป่าละเมาะ ตามหมู่บ้าน หรือ พื้นที่เกษตรกรรม จากที่ราบขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุด

No comments: